SUN-MON, 9:45AM

จำหน่ายขายท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก โปรไพพ์ (PROPIPE)

ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กหรือโปรไพพ์ (PROPIPE) คือท่อระบายน้ำผนังเบาชนิดลอน ที่ผลิตจากพลาสติกชนิดความหนาแน่นสูง HDPE เสริมแผ่นเหล็กที่ลอน เพื่อช่วยรับแรงกดทับจากด้านนอก เช่น แรงกดทับของน้ำหนักรถบรรทุก และน้ำหนักดินถมที่กระทำโดยรอบตัวท่อ เมื่อฝังกลบอยู่ใต้ดิน ทำให้มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าท่อชนิด อื่น ๆ โดยมีน้ำหนักเบากว่าท่อชนิดอื่น ๆ มาก อายุการใช้งานมากกว่า 50 ปี ทำให้ไม่ต้องรื้อถอนมาทำการซ่อมแซมเหมือนท่อประเภทอื่นๆ การออกแบบโดยวิธีการเสริมเหล็กที่ลอนของผนังท่อ และเคลือบด้วยพลาสติก HDPE ทำให้ต้านทานต่อแรงกดและแรงกระแทกได้ดี ผนังท่อทำจากพลาสติก ชนิดความหนาแน่นสูง HDPE ทำให้ทนการกัดกร่อนจากสารเคมี และการทรุดตัวของพื้นดิน จึงมั่นใจได้ว่าท่อมีความทนทานไม่ผุกร่อน อายุการใช้งานยาวนาน

ขั้นตอนก่อสร้างการวางท่อระบายน้ำลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กใต้ดิน
ขั้นตอนก่อสร้างการวางท่อระบายน้ำลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กใต้ดิน

มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กหรือโปรไพพ์ (PROPIPE) ผลิตตามมาตรฐาน ASTM F2435-15 และมอก.2764 ทำให้สามารถรับรองได้ว่า ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก มีค่าความแข็งตึงขั้นต่ำที่ 0.4 Mpa และมีอายุการใช้งานมากกว่า 50 ปี

ทำไมต้องเลือกท่อประปา Hdpe จากเรา !

  • ท่อhdpeได้รับมาตรฐานมอก. และขึ้นทะเบียนการประปาส่วนภูมิภาค,การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • สินค้ามีคุณภาพ มีห้องทดสอบท่อที่ได้รับมาตรฐาน
  • อยากให้ตัดท่อ HDPE ยาวแค่ไหน มาคุยกัน ลดการเสียเวลาเชื่อม
  • เอชดีพีดี HDPEราคาลดมากกว่า 50 % (แล้วแต่ประเภทท่อ)
  • มีใบกำกับใช้กับหน่วยงานราชการได้
  • สามารถใช้ในหน่วยงานราชการและเอกชน เช่น การประปาส่วนภูมิภาค,กองทัพเรือ,กรุงเทพมหานคร,กองทัพอากาศ,กองทัพบก และอื่นๆ

รูปแบบการใช้งานท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

1.Municiple Drainage ท่อระบายน้ำทิ้ง,ท่อระบายน้ำฝนในเมืองเทศบาล
2.Industrial Drainage ท่อระบายน้ำทิ้ง, สารเคมี สำหรับโรงงานต่าง ๆ นิคมอุตสาหกรรม
3.ท่อระบบปรับอากาศ - ความเย็น
4.Main Conduit ท่อประธานสำหรับงานระบบไฟฟ้า, สายเคเบิ้ล, การสื่อสาร
5.Water Sterge ระบบกักเก็บน้ำ, ท่อระบบกรอง
6.Irrigation Water Cenveyon ท่อระบบงานชลประทาน
7.Chemical Conveyon ท่อระบายสารเคมี
8.Waste Water Collection ท่อรวบรวมน้ำเสีย

ไดอะแกรมการวางท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก
ไดอะแกรมการวางท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

ขั้นตอนการเชื่อมท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

 โดยจะมีวิธีขั้นตอนการติดตั้งท่อดังนี้

1. วิธีติดตั้งโดยใช้แผ่น PE ติดตั้งด้วยลมร้อน Shrink PE Sheet Connecting Instruction
2. วิธีเชื่อมต่อแผ่น PE ฝังลวดความร้อนด้วยระบบไฟฟ้า (Elecro Fusion) Elecro Fusion Connecting Instruction
3. การเชื่อมต่อโดยเครื่องเชื่อมพลาสติกระบบลมร้อน (Extrusiob Plastic Welding) Extrusiob Plastic Welding Instruction
4. วิธีติดตั้งโดยใช้แคล้มป์รัดท่อ Clamp Connecting
5. วิธีติดตั้ง และแยกโดยบ่อพัก Manhole Connection and Distribution

การใช้งานท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กในต่างประเทศ

ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก (Steel Reinforced Polyethylene Currugated Pipe) ได้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา รัสเซีย ตุรกี แคนนาดา และในประเทศจีน เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายในรูปแบบ Gravity Flow (ไหลตามแรงโน้มถ่วง) เช่น งานระบายน้ำท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง งานระบายน้ำสนามกีฬาโอลิมปิก งานระบายน้ำทางหลวง งานระบายน้ำในเมืองใหญ่ และงานรวบรวมน้ำเสีย

การใช้งานท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กในประเทศไทย

1.โครงการสถานีสูบน้ำ องค์การบริหารส่วนตำบลราชสถิตย์ อ.ไชโย จ.อ่างทอง ขนาดท่อ 500 มม.
2.โครงการอุโมงค์ผันน้ำบางซื่อ กทม. ใช้เป็นท่อผันน้ำในคลองบางซื่อ กทม. ขนาดท่อ 600 มม.
3.โครงการวางท่อระบายน้ำ PROPIPE DN 1500 mm. ความยาว 36 เมตร ข้ามถนนหน้าโรงแรม NOVOTEL PHUKET RESORT หาดป่าตอง เทศบาลตำบลกระทู้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

โครงการวางท่อระบายน้ำ PROPIPE DN 1500 mm. ความยาว 36 เมตร ข้ามถนนหน้าโรงแรม NOVOTEL PHUKET RESORT หาดป่าตอง เทศบาลตำบลกระทู้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต
การใช้งานท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กในประเทศไทย
การใช้งานท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กในประเทศไทย

เปรียบท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กกับท่อคอนกรีตเสริมเหล็กและท่อ อื่น ๆ

บริษัท ริฤทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้ทำตารางเปรียบเทียบระหว่างท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก (PROPIPE), GPR PIPE, Corrugated pipe และท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ ตั้งแต่ ชนิดของท่อ องค์ประกอบ มาตรฐาน กระบวนการผลิต รวมถึงระยะเวลาในการก่อสร้าง ที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจในการเลือกสินค้าได้ดีขึ้น

ตารางเปรียบชนิดของท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

ตารางการใช้ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กมีจะมีความสามารถในการรับน้ำหนักจากมาตรฐาน ASTM F2435 define pipe stiffness at 0.4 Mpa/40 tons with 5% ของท่อ โดยแบ่งเป็น 3 Class ตามความสามารถในระดับความแข็งตึง 

โดยท่อลอนพีพีเสริมเหล็ก แบ่งโครงสร้างหลักออกเป็น 3 ชั้น

1. ผนังชั้นนอก คือชั้นพลาสติกชนิด HDPE เพื่อป้องกันการกัดกร่อน และทรุดตัวของพื้น

2. ผนังชั้นกลาง คือชั้นของเหล็กดัดเป็นทรง V-shape เพื่อรับแรงกดทับ และชุบ Zinc เพื่อป้องกันสนิม

3. ผังชั้นใน คือชั้นของพลาสติกชนิด HDPE เพื่อป้องกันการทรุดตัวของพื้นดิน และช่วยให้น้ำไหลผ่านได้ดี


ตารางเปรียบชนิดของท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก
Class ตามความสามารถในระดับความแข็งตึง ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

วิดีโอสาธิตท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก