SUN-MON, 9:45AM

งานวางท่อส่งน้ำ HDPE สยามอีสเทิร์น ดันลอด HDD ข้ามแม่น้ำ

19

Oct

งานวางท่อส่งน้ำ HDPE สยามอีสเทิร์น ดันลอด HDD ข้ามแม่น้ำ

หากพูดถึงงานดันลอดท่อ HDD แล้วสิ่งที่จะปราบเซียนมากที่สุดคือชั้นหินแข็งและลอดข้ามแม่น้ำที่มีความลึกมากๆ แต่อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อทั้ง 2 อย่างมารวมกัน ทำให้ผมต้องเขียนขั้นตอนการดันลอดนี้ขึ้นมาครับ งานนี้เป็นงานวางท่อส่งน้ำพร้อมดันลอด HDD ทั้งหมด 3 จุด ท่อ HDPE ขนาด 225 มม. ในโครงการสยามอีสเทิร์น ปลวกแดง ระยอง โดยทีมวางท่อ ดันลอดท่อ และเชื่อมท่อ HDPE ที่มีความเป็นมืออาชีพอย่างบริษัท RIRIT โดยเรามีระยะเวลาทำงานเพียง 15 วันเท่านั้น ที่ต้องดันลอด วางท่อ ประสานท่อให้ทัน จำนวน 1,000 เมตร

จุดตั้งเครื่องดันลอดท่อ HDD

จุดตั้งเครื่องดันลอดท่อนั้น เราต้องมีการถอยออกมาจากแม่น้ำอย่างมากเนื่องจาก ใต้แม่น้ำมีความลึกประมาณ 8-10 เมตร ทำให้เราต้องดันลอดใต้แม่น้ำลงไปอีกประมาณ 12 เมตร เพื่อไม่ให้แนวท่อของเราอยู่บนน้ำ ที่จะอาจส่งผลกระทบต่อการเสียหายได้ในอนาคต จากแม่น้ำที่ระยะกว้างเพียง 30 เมตร เราต้องดันลอดยาวถึง 160 เมตรเลยนั้นเอง

หากสังเกตจากภาพข้างล่างเราจะเห็นว่าจุดตั้งท่ออยู่ห่างจากขอบแม่น้ำอย่างมาก และแนวดันลอดท่อกินพื้นที่เข้าไปในแนววางท่อปกติ หากเราทำการเจาะไม่แม่นยำ จะทำให้การประสานท่อลำบากมาก

งานดันลอดท่อ hdd ข้ามแม่น้ำ

ภาพแสดงแนวดันลอดท่อ hdd และการตั้งเครื่อง hdd

การเจาะก้านตัวนำ เพื่อหาแนวดันลอดท่อ PIlot Drill

การปรับตั้งค่าของเครื่องตรวจสัญญาณเจ้าหน้าที่ควบคุมการขุดเจาะ จะนำเฉพาะหัวเจาะที่บรรจุตัวส่งสัญญาณอิเลคโทรนิค มาทำการปรับตั้งค่า กับเครื่องรับบนพื้นดิน ที่เราสามารถวัดระยะความห่างด้วยสายวัด เพื่อตรวจเช็คความแม่นยำของเครื่องมือ โดยจะต้องทำการบันทึกเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดก่อนที่จะเริ่มการเจาะ

การขุดเจาะเริ่มโดยการเจาะนำ โดยใช้หัวเจาะ ซึ่งหัวเจาะจะถูกดันและหมุนด้วยระบบไฮโดรลิคขณะเจาะจะมีการฉีดสารละลาย เข้าไปหล่อลื่นหัวเจาะ ระยะของการเจาะแต่ละช่วงมีความ ยาวตามความยาวของก้านเจาะแต่ละท่อน โดยภายในหัวเจาะที่บรรจุตัวส่งสัญญาณอิเลคโทรนิคไว้ จะส่งสัญญาณมายังเครื่องรับ

เครื่องรับสัญญาณก้านเจาะอิเลคโทรนิค

ภาพขณะใช้เครื่องรับเพื่อหาตำแหน่งก้านเจาะเพื่อกำหนดแนวดันลอด

จุดตั้งเครื่องดันลอด HDD

เครื่อง hdd ขณะตั้งทำงานบนขอบฝั่งแม่น้ำ

หลุมขุดเปิดเพื่อดันลอดท่อ HDD

หลุมที่ขุดเปิดเพื่อให้ก้านเจาะสามารถเข้าไปได้

ก้านนำสำหรับดันลอด HDD

หัวเจาะนำที่ทะลุแนววางท่ออย่างแม่นยำ

การคว้านขยายรูท่อ Back Reaming

เมื่อหัวเจาะนำถึงที่หมาย (บ่อรับ) ตามกำหนดแล้ว หัวเจาะจะถูกถอดออก เพื่อใส่หัวคว้าน (Reamer) เพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ เพื่อขยายแนวเจาะที่เจาะไว้ให้ใหญ่มากกว่าขนาดของท่อที่จะทำการ  ทั้งนี้ในการคว้านของแต่ละช่วงก้านเจาะ จะฉีดสารละลายเบนโทไนท์ (Bentonite) โพลิเมอร์ (Polymer) สารฟองสบู่ (Drill Det) ทั้งนี้การผสมต่างไ ขึ้นอยู่กับสภาพชนิดของดิน เพื่อช่วยในการหล่อลื่น และสร้างผนังป้องกันดินมิให้พังภายในอุโมงค์ฉีดลงไปตามก้านเจาะ ไปยังหัวคว้าน ที่หมุนอยู่ตลอดเวลา ขณะที่หัวคว้านถูกดึง

ติดตั้งหัวเพื่อคว้านขยายรู สำหรับดันลอดท่อ HDD

ภาพขณะทีมทำการเปลี่ยนหัวสำหรับขยายคว้านรูให้มีขนาดใหญ่จนสามารถนำท่อเข้าไปได้

ชุดหัวลากท่อ HDPE

ภาพหัวคว้านที่ติดตั้งท่อ hdpe เพื่อลาก

การดึงท่อหรือลากท่อกลับ Pulling Pipe 

เมื่อคว้านท่อจนได้ขนาดและไม่มีสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคต่อการวางท่อจริงแล้ว เมื่อทำการดึงท่อหรือกลุ่มท่อ โดยการดึงเข้าไปแทนที่ก้านเจาะ ขั้นตอนในการดึงท่อจะมีอุปกรณ์แลัวิธีทำคล้ายๆการคว้านท่อ แทนที่จะนำก้านเจาะมาต่อที่ปลายของท่อตัวตัดการหมุน ก็จะนำมาดึงท่อต่อมาแทน ซึ่งหัวดึงนี้จะเชื่อมติดกับตัวท่อ และปิดไม่ให้ดินหรือส่วนผสมเข้าไปภายในท่อ

ท่อ hdpe โผล่จากกลุมดันลอดท่อ hdd

ภาพขณะท่อ hdpe ที่ถูกลากจนทะลุฝั่งตรงข้าม

ท่อhdpe ที่ออกจากหลุ่ม HDD

ภาพท่อ hdpe ที่ถูกลากลงไปในรูดันลอดที่คว้านขยายมาแล้ว

การประสานระหว่างท่อดันลอดกับท่อที่ขุดวางมาแล้ว

ภาพแสดงการประสานท่อ hdpe ที่ถูกดันลอดแบบ hdd กับท่อที่ขุดวางแล้ว โดยใช้ STUB-END ชุดคู่